Deprecated: Methods with the same name as their class will not be constructors in a future version of PHP; plgContentGoogleCalendar has a deprecated constructor in /var/www/vhosts/accident.or.th/domains/accident.or.th/public_html/plugins/content/googlecalendar/googlecalendar.php on line 24
เขียนโดย Super User

         วันที่ 19 ก.พ.ุุ63) สคอ.นำทัพสื่อศึกษาดูงานพื้นที่ต้นแบบลดอุบุัติเหตุทางถนน " ท่าซักโเมดล" อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช โดยมีนายเกรียงศักดิ์ ศรีไสย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าซักและคณะ ได้แก่ ผู้ใหญ่บ้าน อสม. อปภร. เจ้าหน้าที่ ให้การต้อนรับและบรรยายความเป็นมาของการดำเนินงานในพื้นที่ที่ร่วมกับภาคีเครือข่าย โดยใช้มาตรการ 3 ด่าน คือ ด่านครอบครัว ด่านโรงเรียน ด่านชุมชน จนสามารถลดอุบัติเหตุทางถนน จากเดิมมีผู้เสียชีวิต 7 ราย แต่ปัจจุบันไม่มีผุู้เสียชีวิตเลยแม้แต่รายเดียว....
,,,,,มาตรการ 3 ด่าน คือ 1.ด่านครอบครัว โดยทีมพี่เลี้ยงและรพ.สต.,อสม. ร่วมสำรวจและแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มสีแดงคือไม่สวมหมวกนิรภัย กลุ่มสีเหลืองคือขับเร็วและเมา และกลุ่มสีเขียวคือบุคคลที่ขับขี่ปลอดภัย นอกจากนี้ลงเยี่ยมบ้านจะนำสติกเกอร์ด้วยรักจึงตักเตือนไปติดที่รถยนต์หรือรถจักรยนต์พร้อมเคาะประตูบ้านโดยนำผู้เคยประสบอุบัติเหตุไปเตือนใจ บอกเล่าประสบการณ์เพื่อลดความเสี่ยง 2. ด่านโรงเรียน นำโดยโรงเรียนวัดนาวง อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช และขยายผลอีก 4 แห่งในพื้นที่ร่วมดำเนินการ บรรจุหลักสูตรการศึกษาวิชา พ.ร.บ.จราจรทางบก กำหนด 10 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษา นับเป็นแห่งแรกของประเทศไทย มีทีมพี่เลี้ยงหมุนเวียนเข้าไปสอนตามเนื้อหาวิชา เช่น การขับขี่ปลอดภัย เครื่องหมายจราจร การป้องกันอุบัติเหตุ ผลกระทบความสูญเสียจากอุบัติเหตุ การช่วยฟื้นคืนชีพ CPR เป็นต้น นอกจากนี้ยังมี“นักข่าวจิ๋ว”คอยตักเตือน สนทนาหน้าเสาธง พูดคุยกระตุ้น ติดตามชื่นชม นักเรียน ผู้ปกครอง 3.ด่านชุมชน นำโดย อบต.ท่าซัก ผู้นำท้องถิ่นและภาคี ให้ความรู้ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการตั้งด่านแก่ ผู้นำชุมชน ใช้รณรงค์สร้างจิตสำนึก ให้ปฏิบัติตามกฎจราจร เฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ จากผลการดำเนินงานทำให้การเสียชีวิตในปี 2561-2562 ลดลง โดยปี 2561 ตาย 7 ราย ปี 2562 จนถึง มกราคม 2563 ยังคงเป็น 0 ราย การป่วยจากอุบัติเหตุลดลงจาก ปี 2561 จำนวน 233 ราย ปี 2562 เหลือ 47 อัตราการสวมหมวกนิรภัยเพิ่มขึ้น ปี 2561 ประมาณ 15 % ปี 2562 เพิ่มขึ้นเป็น 70.23 % ปัจจัยแห่งความสำเร็จ คือ ทุกคนร่วมกัน ด่านชุมชนเป็นมาตรการช่วยให้มีวินัยในการขับขี่ ด่านครอบครัวและด่านโรงเรียนช่วยปลูกจิตสำนึก สำคัญคือพี่เลี้ยงต้องสร้างความเชื่อมั่นและศรัทธาให้กับประชาชนต้องทำงานด้วยความรักและยึดประโยชน์ของชุมชนเป็นหลัก ผู้นำและชุมชนเข้าใจปัญหา มีการออกแบบวางระบบที่ดี ชุมชนร่วมกันพัฒนาต่อเนื่อง มีเป้าหมายเดียวกันคือชุมชนปลอดภัยอย่างยั่งยืน

 

0
0
0
s2smodern
เขียนโดย Super User

สื่อร่วมวางแผนสื่อสารลดความเสี่ยงอุบัติเหตุทางถนน วันที่ 20 ก.พ.63 ณ รร.แกรนด์ฟอร์จูน จ.นครศรีธรรมราช - วันที่สองของการประชุมขับเคลื่อนสื่อสารประชาสัมพันธ์ ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน จัดขึ้นวันที่ 19-20 กุมภาพันธ์ 2563 จัดโดยสำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ (สคอ) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และภาคีเครือข่ายสื่อมวลชนภูมิภาค ภาคใต้ ร่วมแบ่งกลุ่มระดมความคิดเห็น สร้างกระบวนการสื่อสารป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน เพื่อนำข้อเสนอผลักดันนโยบาย มาตรการป้องกันแก้ไขและลดอุบัติเหตุทางถนนแก่ผู้บริหาร หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการลดอุบัติเหตุทางถนน ดำเนินการ โดย นายกษิดิศ ขันธรัตน์ ผู้จัดการสำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ และท้ายสุดของการประขุม ผู้บริหารเครือข่ายแต่ละองค์กร ได้แก่ นายไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล นายกสมาคมนักหนังสือพิมพ์ภูมิภาคแห่งประเทศไทย นายพิศิษฐ์ วิบูลย์ศิลป์ ผู้จัดการอาวุโส ภาคใต้ตอนบน บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถจำกัด นายวิริยา ธรรมเรืองทอง นายกสมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย นายสุทนต์ กล้าการขาย นายกสมาคมสื่อช่อสะอาด นายบุญเรือง ขาวนวล นายกสมาคมเครือข่ายหมออนามัยวิชาการ ได้สรุปแนวทาง บทบาทหนุนเสริมด้านการสื่อการสื่อสารประชาสัมพันธ์ สร้างกระแส นำเสนอข้อมูล เพื่อให้เกิดการสื่อสาร รับรู้ เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการขับขี่ มีวินัย และมีความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนมากยิ่งขึ้นต่อไป

0
0
0
s2smodern
เขียนโดย Super User

         วันที่ 11 มี.ค.63 เครือข่ายลดอุบัติเหตุ นำภาคีเครือข่ายลงพื้นที่ชื่นชมความสำเร็จ ศปถ.อทป.แห่งแรก จ.สกลนคร เผยใช้กฎเหล็ก 3 ข้อ คุมเข้ม หมวก-เมา-เร็ว ลดเจ็บ-ตายเห็นผล พบกว่า 1 ปี หมู่บ้านยังไม่มีอุบัติเหตุและผู้เสียชีวิตเลย ณ บ้านหนองบัวทอง ม.11 ต.ห้วยยาง อ.เมือง จ.สกลนคร นายรำลึก อิงเอนุ ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล ปฏิบัติหน้าที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง อ.เมือง จ.สกลนคร กล่าวว่า อบต.ห้วยยางเป็นอบต.แห่งแรกของจังหวัดสกลนคร ที่จัดตั้งศูนย์ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนระดับท้องถิ่น (ศปถ.อปท.) ด้วยสภาพพื้นที่เป็นชุมชนเขตกึ่งเมืองและมีขนาดใหญ่ประชากรหนาแน่น จึงทำให้สถิติการเกิดอุบัติเหตุสูง จึงได้ตั้งคณะทำงาน สำรวจความเสี่ยง ปัญหา มีการประยุกต์นวัตกรรม มีกฎเหล็กหมู่บ้านที่เข้มแข็ง ซึ่งการทำงานต้องอาศัยความร่วมมือของคนในชุมชน นโยบายผู้บริหารที่เห็นความสำคัญ อยากแก้ไขปัญหาอย่าง นางสวินทร วงษ์หาญ ผอ.รพ.สต.บ้านนาคำ ต.ห้วยยาง อ.เมือง จ.สกลนคร กล่าวว่า จากข้อมูล 3 ปีย้อนหลังจากอุบัติเหตุทางถนน พบว่า ปี 2560 บาดเจ็บ 64 ครั้ง ตาย 9 ราย ปี 2561 เสียชีวิต 8 ราย และปี 2562 เสียชีวิต 6 ราย ส่วนใหญ่เป็นคนนอกพื้นที่ ไม่ชำนาญเส้นทาง จึงมีแนวคิดที่จะรวบรวมข้อมูลนำเสนอต่อท้องถิ่น ร่วมกันแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุ ได้มีการจัดตั้ง ศปถ.อปท. แห่งแรก คือ ศปถ.อบต.ห้วยยาง มี นายก อบต.ห้วยยาง เป็นประธานศูนย์ฯ มีการตั้งคณะทำงานอย่างเป็นระบบ เก็บข้อมู นำมาวิเคราะห์ สำรวจความพร้อมของรถ พ.ร.บ.รถและประสานไปยังเครือข่าย บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด ลงพื้นที่ดำเนินการจัดทำพ.ร.บ.รถให้ประชาชน มีการคืนข้อมูลให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปป้องกันแก้ไขต่อไป จึงทำให้ปี 2563 มีแนวโน้มลดลง เกิดอุบัติเหตุเพียง 15 ครั้ง เสียชีวิตเพียง 2 ราย นายศรัณยพงษ์ ศราวัน ผู้ใหญ่บ้านหนองบัวทอง ม.11 ต.ห้วยยาง อ.เมือง จ.สกลนคร กล่าวว่า อุบัติเหตุในหมู่บ้านที่เกิดขึ้นบ่อย รอยต่อหมู่บ้าน คอสะพาน ถนนไม่มีไฟส่องสว่าง ทางแยก ทางโค้ง มีต้นไม้บดบัง และอุบัติเหตุเกิดมากสุดช่วงเทศกาล-งานบุญ รถมากและดื่มฉลอง ขับเร็ว จนมีเคสผู้เสียชีวิตอย่างต่อเนื่อง หลังจากทำเวทีประชาคม ได้ตกลงแก้ไขจุดเสี่ยงโดยขอความร่วมมือไปยังบริษัทห้างร้านขอสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ ล้อยางเก่า นำมาทาสี ขาว-แดง ทำป้ายเตือน ทางแยก ทางโค้ง / ทำป้ายควบคุมความเร็ว 30 กม./ชม. ติดตั้งอุปกรณ์เตือนระวัง นอกจากนี้หมู่บ้านยังกำหนดมาตรการชุมชน โดยจัดทำสัญญาประชาคมใช้ร่วมกัน คือ 1.ขับรถเร็ว เสียงดัง แต่งรถ ตักเตือน 2 ครั้ง ครั้งที่ 3 แจ้งเจ้าหน้าที่ยึดรถ 2. กำหนดความเร็วถนนภายในหมู่บ้าน 30 กม./ชม. 3. เมาแล้วขับถูกจับไม่ประกันตัวทุกกรณี 4. ติดต่อราชการที่ทำการผู้ใหญ่บ้านขับขี่รถจักรยานยนต์ ต้องสวมหมวกทุกครั้ง หากไม่สวมไม่เซ็นรับรองให้ 5. เจ้าของสัตว์เลี้ยงต้องดูแลสัตว์เลี้ยงไม่ให้กีดขวางการจราจร หากเกิดอุบัติเหตุเจ้าของต้องรับผิดชอบ 6. ห้ามไม่ให้จอดรถบรรทุกบนถนนภายในหมู่บ้าน ซึ่งหากพบการกระทำผิดทุกกรณีจะมีการบันทึกภาพและทำแฟ้มประวัติประวัติไว้เป็นหลักฐาน โดยหลังจากดำเนินการมาแล้ว 1 ปี หมู่บ้านยังไม่มีอุบัติเหตุและผู้เสียชีวิตเกิดขึ้นเลย

0
0
0
s2smodern
เขียนโดย Super User

        รวมพลังสื่อและเครือข่ายป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน จ.สกลนคร วันที่ 11 มี.ค.63  ในการประชุมขับเคลื่อนสื่อสารประชาสัมพันธ์ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน จัดขึ้นระหว่างวันที่ 11-12 มีนาคม 2563 ณ โรงแรมสกลแกรนดพ์าเลซ อ.เมือง จ.สกลนคร จัดโดยสำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ (สคอ) สำนักงานกองทุนสนับสนับการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และภาคีเครือข่าย เพื่อสร้างความร่วมมือด้านการสื่อสารประชาสัมพันธ์ สร้างกระแส ร่วมวิเคราะห์ ค้นหาปัญหาและวางแผนแก้ไข ผลักดันนโยบายให้เป็นรูปธรรม ลดความสูญเสียอันเกิดจากจากอุบัติเหตุทางถนน โดยมีผู้บริหารและภาคีเครือข่ายให้เกียรติร่วมประชุม ได้แก่ นายไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล นายกสมาคมนักหนังสือพิมพ์ภูมิภาคแห่งประเทศไทย นายนพดล สันติภากรณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถจำกัด ดร.สรุศักดิ์ วงษ์อินทร์จันทร์ นายกสมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย นายสุทนต์ กล้าการขาย นายกสมาคมสื่อช่อสะอาด และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องอีกกว่า 80 คน

0
0
0
s2smodern
เขียนโดย Super User

     วันที่ 25 พ.ค. 63  ณ ห้องประชุม บริษัทธนชาต ประกันภัย จำกัด (มหาชน) เขตสวนหลวง กทม.- สำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ (สคอ.) โดย นายพรหมมินทร์ กัณธิยะ ผู้อำนวยการสำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกพื้นที่จุดเสี่ยง จุดอันตราย เพื่อการปรับปรุงแก้ไขให้มีความปลอดภัย ภายใต้โครงการ “พลังชุมชนสร้างถนนปลอดภัย” และในนามศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างบริษัทธนชาต ประกันภัย จำกัด (มหาชน) ร่วมกับกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและภาคีเครือข่าย โดยมี นายจุมพฎ วรรณฉัตรศิริ ผู้อำนวยการกองบูรณาการความปลอดภัยทางถนน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นประธานการประชุมพิจารณาคัดเลือกฯ โดยที่ผ่านมาได้มีการเชิญชวนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่รับผิดชอบทั่วประเทศเข้าร่วมสมัครโครงการผ่านทางเว็บไซต์ www.พลังชุมชนถนนปลอดภัย.com  ซึ่งได้รับความสนใจส่งโครงการเข้าร่วมจำนวนมาก และได้ผ่านการพิจารณาให้เหลือ 30 โครงการและจะตัดสินรอบสุดท้ายให้เหลือเพียง 10 โครงการเท่านั้น เพื่อสนับสนุนดำเนินการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ภายใต้งบประมาณ 200,000 บาทต่อแห่ง ทั้งนี้รายชื่อและหน่วยงานที่ผ่านการคัดเลือกจะได้มีการประกาศนำเสนอในโอกาสต่อไป

0
0
0
s2smodern