Deprecated: Methods with the same name as their class will not be constructors in a future version of PHP; plgContentGoogleCalendar has a deprecated constructor in /var/www/vhosts/accident.or.th/domains/accident.or.th/public_html/plugins/content/googlecalendar/googlecalendar.php on line 24
เขียนโดย Super User

      วันที่ 12 เมย 62- ศูนย์อํานวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2562 โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สรุปสถิติอุบัติเหตุทางถนนประจําวันที่ 11 เมษายน 2562 เกิดอุบัติเหตุ 468 ครั้ง ผู้เสียชีวิต 46 ราย ผู้บาดเจ็บ 482 คน กําชับ ดูแลความปลอดภัยและอํานวยความสะดวกในการเดินทางของประชาชน ทั้งถนนสายหลักและสายรอง พร้อมบังคับใช้กฎหมาย จราจรอย่างเคร่งครัด คุมเข้มพฤติกรรมเสี่ยงอุบัติเหตุ โดยเฉพาะขับรถเร็ว ดื่มแล้วขับ และไม่ใช้อุปกรณ์นิรภัย รวมถึงกวดขันการขับขี่รถจักรยานยนต์ในลักษณะที่ไม่ปลอดภัย เพื่อให้การสัญจรเป็นไปด้วยความปลอดภัย

       นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมรองประธานคณะกรรมการนโยบายป้องกันและลด อุบัติเหตุทางถนนแห่งชาติ คนที่สอง ในฐานะประธานแถลงข่าวสรุปผลการดําเนินงานของศูนย์อํานวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุ ทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2562 เปิดเผยว่า ศูนย์อํานวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2562 โดยกรม ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและความร่วมมือของหน่วยงานภาคีเครือข่ายได้รวบรวมสถิติอุบัติเหตุทางถนนประจําวันที่ 11 เมษายน 2562 ซึ่งเป็นวันแรกของการรณรงค์ “ขับรถมีน้ำใจ รักษาวินัยจราจร” เกิดอุบัติเหตุ 468 ครั้ง ผู้เสียชีวิต 46 ราย ผู้บาดเจ็บ 482 คน สาเหตุที่ทําให้ เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ดื่มแล้วขับ ร้อยละ 34.62 ขับรถเร็ว ร้อยละ 26.92 ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 78.47 ส่วนใหญ่เกิดในเส้นทางตรง ร้อยละ 65.38 บนถนนกรมทางหลวง ร้อยละ 42.31 ถนนใน อบต./หมู่บ้าน ร้อยละ 35.04 ช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ช่วงเวลา 16.01 - 20.00 น. ร้อยละ 29.06 ผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตสูงสุดอยู่ในช่วงอายุ 50 ปีขึ้นไป ร้อยละ 25.19 ทั้งนี้ ได้จัดตั้งจุดตรวจหลัก 2,036 จุด เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน 65,276 คน เรียกตรวจยานพาหนะ709,464 คัน มีผู้ถูก ดําเนินคดี รวม 163,584 ราย มีความผิดฐานไม่สวมหมวกนิรภัย 45,230 ราย ไม่มีใบขับขี่ 41,485 ราย โดยจังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ นครศรีธรรมราช (20 ครั้ง) จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ อุดรธานี (4 ราย) จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสูงสุด ได้แก่ นครราชสีมา (23 คน)

      นายอาคม กล่าวต่อไปว่า แม้ว่าวันนี้จะเป็นวันหยุดวันแรกของเทศกาลสงกรานต์ 2562 ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่เดินทาง ถึงที่หมายแล้ว ในขณะที่บางส่วนยังอยู่ระหว่างการเดินทาง ศูนย์อํานวยการความปลอดภัยทางถนนได้เน้นย้ำจังหวัด ให้ความสําคัญกับ การดูแลความปลอดภัยและอํานวยความสะดวกในการเดินทางของประชาชนทั้งถนนสายหลักและสายรอง โดยพิจารณาเปิดช่องทาง พิเศษ ปิดจุดกลับรถ ประชาสัมพันธ์เส้นทางเลี่ยง ทางลัด เพื่อให้การสัญจรเป็นไปด้วยความคล่องตัว มุ่งเฝ้าระวังจุดเสียงอุบัติเหตุ ทั้งจุดตัดทางรถไฟ ทางลักผ่าน ทางแยก ทางร่วม และบริเวณที่มีการก่อสร้างถนน พร้อมดูแลเส้นทางตรงที่มีระยะทางยาว เพื่อป้องกันการขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกําหนด อีกทั้งเพิ่มความถี่ในการเรียกตรวจความพร้อมของผู้ขับขี่ยานพาหนะทุกประเภท เน้นการตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์และสารเสพติด รวมถึงกําชับจุดตรวจ ด่านตรวจบังคับใช้กฎหมายจราจรอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะ การตรวจจับและปรับในอัตราโทษสูงสุด กรณีขับรถเร็ว และดื่มแล้วขับ
นายปวิณ ชํานิประศาสน์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย หัวหน้ากลุ่มงานภารกิจด้านสาธารณภัยและพัฒนาเมือง เปิดเผยว่า กระทรวงมหาดไทยได้กําชับจังหวัดบูรณาการทุกภาคส่วนทั้งฝ่ายพลเรือน ตํารวจ ทหาร และภาคประชาชน ดําเนินงานลดอุบัติเหตุทางถนนให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่และสถานการณ์อุบัติเหตุควบคู่กับการใช้มาตรการทางสังคม โดยกําหนดกติกาชุมชน ประชาคม หมู่บ้าน สําหรับเป็นข้อตกลงร่วมกันในการใช้รถใช้ถนนอย่างปลอดภัย อย่างไรก็ตาม จากสถิติอุบัติเหตุทางถนน พบว่า รถจักรยานยนต์ ยังคงเป็นยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ศปถ. จึงได้สั่งการให้จังหวัดเน้นย้ำกํานัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นําชุมชนปฏิบัติหน้าที่ประจําด่านชุมชนและจุดบริการคุมเข้มผู้ใช้รถจักรยานยนต์ที่ไม่สวมหมวกนิรภัย ดื่มแล้วขับ รวมถึงขับขี่ในลักษณะที่ไม่ปลอดภัย ทั้งการขับรถเร็ว การย้อนศร การเลี้ยวรถ การตัดหน้าในระยะชั้นชิด และกลับรถโดยไม่ให้สัญญาณ เพื่อสร้างความปลอดภัยในการเดินทาง

      นายชยพล ธิติศักดิ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เลขานุการศูนย์อํานวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) เปิดเผยว่า ศปถ.ได้เน้นย้ำให้จังหวัด อําเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพิ่มความเข้มข้นในการดําเนินงานตามแผน บูรณาการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ.2562 เน้นการดูแลจุดเสี่ยงที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง โดยประสาน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่สนธิกําลังสนับสนุนการปฏิบัติงานในจุดตรวจ จุดบริการและด่านชุมชน เข้มงวดการเรียกตรวจผู้ขับขี่ทีม พฤติกรรมการขับรถในลักษณะเสี่ยงอุบัติเหตุ ทั้งการเมาแล้วขับ ขับรถเร็ว และไม่ใช้อุปกรณ์นิรภัย เพื่อสร้างการสัญจรที่ปลอดภัย นอกจากนี้ ในช่วงวันที่ 12 - 17 เมษายน 2562 ประเทศไทยจะมีพายุฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ ทําให้สภาพถนนเปียกสิน และทัศนวิสัย ในการมองเห็นเส้นทางไม่ชัดเจน จึงขอให้ประชาชนเพิ่มความระมัดระวังในการขับขี่เป็นพิเศษโดยไม่ขับรถเร็ว เว้นระยะห่างจากรถคันหนา ให้มากกว่าปกติ หากประสบหรือพบเห็นอุบัติเหตุ สามารถแจ้งเหตุได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 หรือสายด่วน 1669 เพื่อประสานให้การ ช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป

      ด้านนายพรหมมินทร์ กัณธิยะ ผู้อำนวยการสำนักงานเครือข่ายลดอุลบัติเหตุ (สคอ.) กล่าวว่า ช่วงเทศกาลสงกรานต์จะมีกลุ่มเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการเข้าถึงแอลกอฮอล์ของเด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี ทั้งนี้วันแรกได้มีการเจาะเลือดผู้ประสบเหตุพบเกินกว่าร้อยละ 70 ที่เป็นเด็กและเยาวชน ดังนั้นจึงต้องระมัดระวังมากกว่าเดิม ส่วนสาเหตุหลักยังคงเป็นเรื่องดื่มแล้วขับเร็ว ซึ่งวันแรกเสียชีวิต ณ จุดเกิดเหตุร้อยละ 50 จึงขอให้เฝ้าระวังคนในครอบครัวให้มากขึ้น

0
0
0
s2smodern
เขียนโดย Super User

       วันที่ 13 เม.ย. 62 ศปถ.ดูแลความปลอดภัยเส้นทางเสี่ยง กวดขันการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ส่งเสริมการเล่นน้ำสงกรานต์ตามวิถีไทย
นาวาตรี วรวิทย์ เตชะสุภากูร ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า ศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2562 โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและความร่วมมือของหน่วยงานภาคีเครือข่าย ได้รวบรวมสถิติอุบัติเหตุทางถนนประจำวันที่ 12 เมษายน 2562 ซึ่งเป็นวันที่สองของการรณรงค์ “ขับรถมีน้ำใจ รักษาวินัยจราจร” เกิดอุบัติเหตุ 501 ครั้ง ผู้เสียชีวิต 57 ราย ผู้บาดเจ็บ 521 คน สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ดื่มแล้วขับ ร้อยละ 35.13 ขับรถเร็ว ร้อยละ 29.94 ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 78.71 ส่วนใหญ่เกิดในเส้นทางตรง ร้อยละ 61.88 บนถนนกรมทางหลวง ร้อยละ 39.12 ถนนในอบต./หมู่บ้าน ร้อยละ 38.12 ช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ช่วงเวลา 16.01 – 20.00 น. ร้อยละ 27.54 ผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตสูงสุดอยู่ในช่วงอายุ 50 ปีขึ้นไป ร้อยละ 25.78 ทั้งนี้ ได้จัดตั้งจุดตรวจหลัก 2,036 จุด เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน 65,132 คน เรียกตรวจยานพาหนะ 890,550 คัน มีผู้ถูกดำเนินคดี รวม 201,772 ราย มีความผิดฐานไม่สวมหมวกนิรภัย 54,921 ราย ไม่มีใบขับขี่ 52,106 ราย โดยจังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ นครศรีธรรมราช (23 ครั้ง) จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ ลพบุรี (7 ราย) จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสูงสุด ได้แก่ นครราชสีมา (27 คน) สรุปอุบัติเหตุทางถนนสะสม 2 วัน (11 – 12 เม.ย. 62) เกิดอุบัติเหตุ 969 ครั้ง ผู้เสียชีวิต 105 ราย ผู้บาดเจ็บ 1,001 คน จังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิต (ตายเป็นศูนย์) มี 28 จังหวัด จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุด ได้แก่ นครศรีธรรมราช (43 ครั้ง) จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด ได้แก่ ลพบุรี (7 ราย) จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุด ได้แก่ นครราชสีมา (50 คน)

  

  

  

0
0
0
s2smodern
เขียนโดย Super User

สคอ. จัดตั้งศูนย์ข้อมูลการสื่อสารเพื่อความปลอดภัย(ศสป.)ช่วงเทศกาลสงกรานต์ ระหว่างวันที่ 12-17 เม.ย.62 เพื่อร่วมนำเสนอมาตรการ ข้อสั่งการ สื่อสารสร้างกระแสรณรงค์ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนแก่ประชาชนและสื่อมวลชนทุกแขนง ณ ชั้น 4 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ดุสิต กทม.

  
 
  
 
  
 
  
0
0
0
s2smodern
เขียนโดย Super User

      วันที่ 14 เม.ย. 62 ศปถ. กำชับจังหวัดเพิ่มความเข้มข้นด่านตรวจ-ด่านชุมชน กวดขันรถจักรยานยนต์ – รถกระบะเล่นน้ำ - คุมเข้มการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
นายชาย นครชัย อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ในฐานะประธานแถลงข่าวสรุปผลการดำเนินงานป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2562 เปิดเผยว่า ศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2562 โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและความร่วมมือของหน่วยงานภาคีเครือข่ายได้รวบรวมสถิติอุบัติเหตุทางถนนประจำวันที่ 13 เมษายน 2562 ซึ่งเป็นวันที่สามของการรณรงค์ “ขับรถมีน้ำใจ รักษาวินัยจราจร” เกิดอุบัติเหตุ 700 ครั้ง ผู้เสียชีวิต 67 ราย ผู้บาดเจ็บ 733 คน สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ดื่มแล้วขับร้อยละ 42.71 ขับรถเร็ว ร้อยละ 26.14 ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 81.08 ส่วนใหญ่เกิดในเส้นทางตรง ร้อยละ 66.43 บนถนนใน อบต./หมู่บ้าน ร้อยละ 37.29 ถนนกรมทางหลวง ร้อยละ 37.00 ช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ช่วงเวลา 16.01 – 20.00 น. ร้อยละ 32.43 ผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตสูงสุดอยู่ในช่วงอายุ 50 ปีขึ้นไป ร้อยละ 21.75 ทั้งนี้ ได้จัดตั้งจุดตรวจหลัก 2,042 จุด เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน 65,444 คน เรียกตรวจยานพาหนะ 1,023,123 คัน มีผู้ถูกดำเนินคดี รวม 226,655 ราย มีความผิดฐานไม่สวมหมวกนิรภัย 63,196 ราย ไม่มีใบขับขี่ 57,520 ราย โดยจังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ สกลนคร (28 ครั้ง) จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ บุรีรัมย์ น่าน และอุดรธานี (4 ราย) จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสูงสุด ได้แก่ สกลนคร (33 คน) สรุปอุบัติเหตุทางถนนสะสม 3 วัน (11 – 13 เม.ย. 62) เกิดอุบัติเหตุ 1,665 ครั้ง ผู้เสียชีวิต 174 ราย ผู้บาดเจ็บ 1,728 คน จังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิต (ตายเป็นศูนย์) มี 17 จังหวัด จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุด ได้แก่ นครศรีธรรมราช (69 ครั้ง) จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด ได้แก่ อุดรธานี (10 ราย) จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุด ได้แก่ นครศรีธรรมราช (69 คน)

  

  

  

0
0
0
s2smodern
เขียนโดย Super User

       8 พฤษภาคม 2562 นายพรหมมินทร์ กัณธิยะ (ผอ.สคอ.) และนายกษิดิศ ขันธรัตน์ (ผจก.สคอ.) ร่วมการประชุมโครงการพัฒนารูปแบบความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนสุขภาวะที่ดีของเยาวชนไทย และขอความร่วมมือภาคีเครือข่ายเข้าร่วมประชุมและร่วมกิจกรรมตลอดแผนงาน เพื่อให้ภาคีเครือข่ายความปลอดภัยทางถนนได้มีกิจกรรมร่วมออกแบบหาแนวทางการทำงานใหม่ๆ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนร่วมกัน และเป็นแนวทางในการทำงานการดำเนินงานของโครงการพัฒนารูปแบบความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนสุขภาวะที่ดีของเยาวชนไทย ของสำนักการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสังคม(สำนัก10) มีระยะเวลาการดำเนินการตั้งแต่มีนาคม 2562 ถึง สิงหาคม 2564 โดยจะจัดให้มีการประชุมภาคีเครือข่ายความปลอดภัยทางถนน สสส. และผู้ที่เกี่ยวข้องไตรมาสละ 1 ครั้ง รวมทั้งสิ้น 7 ครั้ง และมีการสัญจรไปประชุมในพื้นที่ปฏิบัติติงานของภาคีเครือข่ายในลำดับต่อไป จัดโดยสำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ณ ห้องอาศรม ชั้น 3 สสส. อาคารศูนย์สุขภาวะ ซ.งามดูพลี ถนนพระราม 4 กทม.

  

  

  

  

0
0
0
s2smodern